ประเภทผัก



1.4 ประเภทผัก


ผักเชียงดา




  ผักเชียงดา: เป็นผักท้องถิ่นของทางภาคเหนือ และเป็นพืชผักสวนครัวที่เราจะนำดอกและยอดอ่อนมาทำเป็นอาหาร โดยผักเชียงดามีทั้งที่ขึ้นอยู่ในป่าและที่นำมาปลูกเพื่อการบริโภค ชนิดที่ขึ้นในป่ามีรสชาติขมกว่าชนิดที่ปลูกตามบ้าน และมีลักษณะของใบที่ใหญ่กว่าด้วย แต่สีของใบจะเข้มน้อยกว่า ส่วนลักษณะของผักเชียงดาที่ปลูกนั้นมีลักษณะเป็นไม้เลื้อย ลำต้นสีเขียว ส่วนต่างๆ ที่อยู่เหนือดินมีน้ำยางใสสีขาวคล้ายน้ำนม ใบเป็นใบเดี่ยวสลับ ดอกออกเป็นช่อที่ง่ามใบ ดอกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มหรือสีเขียว ผลออกเป็นฝักรูปร่างคล้ายหอก                                                                                                      

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักเชียงดา

          1 ช่วยลดน้ำตาลในผู้ที่เป็นเบาหวาน โดยใช้ยอดอ่อนหรือใบอ่อนของผักเชียงดามาต้มน้ำดื่มวันละ 2-3 แก้ว ติดต่อกันประมาณ 2-3 สัปดาห์ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะกลับมาเป็นปกติได้
          2 มีสรรพคุณในการแก้ไข้ แก้แพ้ แก้หวัด โดยนำใบสดของผักเชียงดามาตำจนละเอียดแล้วใช้พอกบริเวณกระหม่อม
          3 ใช้รักษาอาการท้องผูก แก้โรคริดสีดวงทวาร ทำให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น โดยชาวบ้านจะนำผักเชียงดามาแกงกับผักตำลึงและยอดชะเอม
          4 มีฤทธิ์ช่วยควบคุมการทำงานภายในร่างกาย ให้เป็นไปอย่างปกติโดยเฉพาะการกินผักเชียงดาในช่วงหน้าร้อนจะช่วยระบายความร้อนในร่างกายได้ดี
          5 ช่วยกำจัดสารพิษต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย รวมถึงไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ในลำไส้โดยจะควบคุมปริมาณของไขมันในร่างกายให้มีความสมดุล
         6 ช่วยฟื้นฟูและบำรุงตับอ่อนให้แข็งแรง ทำให้การทำงานของตับอ่อนเป็นไปอย่างปกติ
         7 สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากผักเชียงดามีฤทธิ์ทำให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างไขมัน จึงไม่มีไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง
         8 บรรเทาอาการปวดข้อหรือปวดกระดูกจากโรคเกาต์ และยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก
         9 ช่วยบรรเทาอาการป่วยจากโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด จากสรรพคุณทางยาของผักเชียงดาในข้างต้นนี้ ปัจจุบันจึงได้มีการนำมาผลิตเป็นยาในรูปแบบของยาแคปซูล เพราะคุณสมบัติของผักเชียงดานั้นยังสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อีกสารพัดโรค เช่น แก้ปวดหัว ทำให้เจริญอาหาร ลดไข้ ขับเสมหะ ช่วยระงับประสาท ฯลฯ



ชะพลู




 ชื่อสามัญ:Wildbetal leafbush
 ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb.
 จัดอยู่ในวงศ์: พริกไทย (PIPERACEAE)
 มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า: ผักพลูนก พลูลิง ปูลิง ปูลิงนก ผักปูนา ผักนางเลิด
ชะพลู:  มักมีการจำสับสนกับพลูทั้งที่เป็นคนละชนิดกัน ซึ่งใบจะรสไม่จัดเท่ากับพลูและยังมีขนาดเล็กกว่า สำหรับสรรพคุณของชะพลูที่สำคัญนั้นก็ได้แก่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ เป็นต้น และประโยชน์ของชะพลูในด้านของสุขภาพนั้นก็คือ มีวิตามินเอและธาตุแคลเซียมในปริมาณสูงเป็นพิเศษ และยังมีธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส คลอโรฟิลล์ เส้นใยอีกด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทั้งสิ้น
ใบชะพลู หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง และถูกขับออกทางปัสสาวะ หรือจะเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ๆ เพื่อป้องกันโรคนิ่วก็ทำได้เหมือนกัน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดคุณควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

ประโยชน์ของใบชะพลู
  • ประโยชน์ของใบชะพลู ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ (ใบ)
  • สรรพคุณของใบชะพลู มีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น (ใบ)
  • ใบชะพลูมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณมากซึ่งช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน แก้โรคตาฟาง เป็นต้น (ใบ)
  • ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ใบ)
สรรพคุณใบชะพลู
  • ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดสักพัก แล้วนำมาดื่มเป็นชา (ทั้งต้น)
  • ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ (ราก)
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (ใบ)
  • ช่วยทำให้เสมหะงวดและแห้ง (ดอก, ราก)
  • สรรพคุณชะพลู ช่วยในการขับเสมหะบริเวณทรวงอก ลำคอ (ใบ, ราก, ต้น)
  • ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ (ราก)
  • ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากมีเส้นใยในปริมาณมาก (ใบ)
  • ช่วยแก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)


ผักหวานป่า




ผักหวานป่า: (Melientha Suavis Pierre)  : เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมากผักหวานป่าเป็นพืชที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรานี่เอง โดยสามารถพบได้ในทุกภาคของไทย ผักหวานป่ามีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น มะยมป่า นางเย็น นางจุม ผักหวานเขา และผักหวานดง เป็นต้น

ประโยชน์ของผักหวานป่า
  • ผักหวานสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม เป็นต้น
  • นิยมนำผักหวานมาเป็นแกล้มอาหารรสจัดจำพวก ส้มตำและลาบ หรือจิ้มกับแจ่วและน้ำพริกได้ทุกชนิด
  • ประโยชน์ของผักหวานป่า คนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด
  • มีโปรตีน วิตามินซีและใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟันและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
  • รากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ
  • แก่นต้นผักหวานสามาถนำมาต้มรับประทานแก้อาการปวดตามข้อ
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้รู้สึกชุ่มชื่นขึ้น
  • ผักหวานอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น