ประเภทเถา,เครือ

                        
                                                            1.2 ประเภทเถา,เครือ


ชะเอมไทย




 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth. 
จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว   : (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) 
มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆว่า  : ตาลอ้อย (ตราด), อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี), ย่านงาย เซเบี๊ยดกาชา (ตรัง), อ้อยช้าง (สงขลา, นราธิวาส), ชะเอมป่า (ภาคกลาง), ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ), เพาะซูโฟ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กอกกั๋น เป็นต้น

สรรพคุณของชะเอมไทย                                                                                                          

  • เนื้อไม้ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย 
  • ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  • รูปชะเอมไทยช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ (เนื้อไม้)
  • ช่วยแก้โรคตา (ต้น)
  • ช่วยแก้โลหิตอันเน่าในอุทรและช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
  • ดอกแก้ดีและโลหิต (ดอก)
  • ช่วยแก้กำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
  • เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการไอ โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน (เปลือกต้น, ราก)
  • ช่วยขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว (เนื้อไม้, ผล, ราก) ทำให้เสมหะงวด (ดอก)โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน
  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ (ต้น, เนื้อไม้)
  • เนื้อไม้มีรสหวาน ช่วยรักษาโรคในลำคอ (เนื้อไม้)
  • ช่วยทำให้ชุ่มคอแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เนื้อไม้)
  • ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (เนื้อไม้)
  • เนื้อไม้ช่วยแก้ลม (เนื้อไม้)ถ่ายลม (ต้น)
  • ดอกมีรสขมร้อน ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)
  • รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)



เล็บมือนาง






 ชื่อสามัญ  :Rangoon Creeper, Chinese honey Suckle, Drunen sailor
 ชื่อวิทยาศาสตร์   : Combretum indicum (L.) DeFilippsindica L.) 
จัดอยู่ในวงศ์สมอ  : (COMBRETACEAE)

สรรพคุณของเล็บมือนาง
  • รากและใบมีรสเมาเบื่อ เป็นยาสุขุม ส่วนเมล็ดมีรสชุ่มเป็นยาร้อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (ราก,ใบ,เมล็ด)
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก,ใบ)
  • ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้ตานขโมยพุงโร (ทั้งต้น)หรือจะใช้รากผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง แก้ธาตุวิปริต แก้อุจจาระพิการ แก้ตับทรุด และช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)
  • รากและใบใช้เป็นยาแก้ตานซางในเด็ก (ราก,ใบ) ส่วนเมล็ดเป็นยาแก้ตานซาง ตานขโมยในเด็ก (เมล็ด)
  • ใบหากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้ตัวร้อน และแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
  • ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (เมล็ด)
  • ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ใบ, เมล็ด
  • ช่วยแก้อาการไอ (ต้น,ราก,ใบ,ทั้งต้น)
  • ผลใช้รับประทานแล้วจะทำให้สะอึก (ผล)
  • ช่วยแก้อาการสะอึก (ราก,ใบ)



พริกไทย







 ชื่อสามัญ    :  Pepper
 ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Piper nigrum L. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)
 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า  :  พริกขี้นก, พริกไทยดำ, พริกไทยขาว, พริกไทยล่อน, พริกน้อย 
 ลักษณะพริกไทย ต้นพริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร  ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อ ๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะ  ของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลม ๆ ติด  กันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเรา  พริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด  และระยอง

ประโยชน์ของพริกไทย
  • เมล็ดพริกไทยมีสารฟีนอลิกและสารพิเพอรีน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (เมล็ด)
  • เมล็ดพริกไทยมีสารพิเพอรีน (Piperine) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีส่วนช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ (อ้างอิง : รศ.ดร.อรุณศรี ปรีเปรม อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์) (เมล็ด)
  • สรรพคุณช่วยป้องกันและต่อต้านสารก่อมะเร็ง ช่วยเร่งการทำงานของตับให้ทำลายสารพิษได้มากขึ้น (เมล็ด)
  • เมล็ดพริกไทยมีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นประสาท (เมล็ด)
  • ช่วยแก้โรคลมบ้าหมูหรือลมชักได้ (เมล็ด)
  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำให้ลิ้นของผู้สูงอายุรับรสได้ดียิ่งขึ้น
  • พริกไทยมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
  • ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายและเสริมภูมิต้านทานไปด้วยในตัว (เมล็ด)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น