ประเภทหัว,เหง้า



1.3 ประเภทหัว,เหง้า


ไพล




ไพล มีชื่อภาษาท้องถิ่นว่า: พายับ ปูลอย, ปูเลย, มิ้นสะล่าง, ว่านไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า: ซิงจิเบอร์ แคสซูมูนาร์ (Zingiber cassumunar Roxb.)
จัดอยู่ในวงศ์: ซิงจิเบอร์ราซีอี้ (Zingiberaceae)
  ไพล มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วยสารสำคัญที่เรียกว่า แคสซูมิวนาควิโนน วัน และ พี(cassumunaquinone I and P) แคสซูมูนส์ สารเคอร์คิวมิน

สรรพคุณของไพลและวิธีใช้:
       ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของไพลคือ หัวหรือเหง้า ซึ่งเป็นลำต้นใต้ดิน ที่เรียกว่า ไรโซม (rhizome)จะให้สรรพคุณดังต่อไปนี้ ค่ะ
หัวหรือเหง้า ควรใช้เหง้าแก่จัด ใช้ขับประจำเดือนให้สะดวก ใช้ทาถูนวดแก้เหน็บชา แก้เมื่อยขบ เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม แก้ท้องอืด มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้บิด สมานลำไส้ นิยมใช้หลังการคลอดบุตร
เหง้าสด ใช้ฝนทาแก้ฟกช้ำบวม เส้นตึง เมื่อขบ เหน็บชา สมานแผล และจากการตรวจสอบรายงานการทดลองพบว่า ไพล มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้หอบหืด และรักษาโรคหืดในเด็ก จากการศึกษาฤทธิ์ต้านฮีสตามีนของไพล โดยทำ skin testing กับเด็กที่มีอาการหอบหืด 24 ราย ที่ไม่ได้ทำการรักษาด้วยยา 24 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่าไพลในขนาด 500 มิลลิกรัม มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนน้อยกว่า chlopheniramine 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อให้คนไข้กิน และในปัจจุบันพบว่ามีการผลิตครีมจากไพลออกจำหน่ายโดยใช้ชื่อว่า "ไพลจีซาล" ใช้รักษาอาการปวดเมื่อย แก้ฟกช้ำ นอกจากนี้น้ำคั้นจากหัวไพลมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงช่วยลดอาการปวดได้



กระชาย 




กระชาย ภาษาอังกฤษเรียกว่า: Fingerroot หรือ Chinese's Ginger
          เป็นพืชล้มลุกที่มีต้นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปได้แก่ ภาคเหนือจะเรียกว่า กะแอน หรือ ละแอน จังหวัดมหาสารคามเรียกว่า ขิงทราย แถบแม่ฮ่องสอนมักจะเรียกว่า จี๊ปู, ซีฟู, เป๊าะซอเร้าะ หรือเป๊าะสี่ ส่วนในกรุงเทพฯ หากได้ยินชื่อว่านพระอาทิตย์ละก็ นั่นก็แปลว่ากระชายเช่นกันค่ะ
          กระชายนิยมใช้เป็นสมุนไพรในครัวเรือน โดยส่วนที่นำมาใช้มากที่สุดคือเหง้าและรากที่อยู่ใต้ดิน ในประเทศไทยมีกระชายอยู่ 3 ชนิดได้แก่ กระชายเหลือง กระชายแดง และกระชายดำ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และสรรพคุณทางยาแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเหง้าและรากที่นำมาใช้นั้นมีรสชาติเผ็ดร้อนขม ซึ่งแพทย์แผนโบราณของไทยนิยมมาใช้ทั้งในการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ยังถือเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย
สรรพคุณของกระชาย เปี่ยมคุณค่า รักษาสารพัดโรค
          กระชาย สรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้กระจายอยู่มากมายตามส่วนต่าง ๆ ของต้น ไม่ว่าจะเป็นใบ เหง้า ราก และเหง้าใต้ดิน ยิ่งโดยเฉพาะกระชายแก่จะยิ่งมีประโยชน์สูงกกว่ากระชายอ่อน และควรเลือกกระชายแห้ง เพราะกระชายแห้งจะมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า โดยแต่ละส่วนของกระชายมีสรรพคุณแตกต่างกันไปดังนี้
          - เหง้าใต้ดิ   
          เหง้าใต้ดินมีรสชาติขมและเผ็ด สามารถช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีสารซิเนโอเล (Cineole) ที่มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงทำให้อาการปวดท้องทุเลาลงได้ ทั้งนี้ยังเป็นยารักษาริดสีดวงทวาร นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยชูกำลัง และบำรุงกำหนัด บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน
           - เหง้าและราก
          เหง้าและรากสามารถใช้เพื่อแก้โรคบิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยขับปัสสาวะ และแก้อาการปัสสาวะพิการ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อนได้อีกด้วย
           
          - ใบ
             
          ใบเป็นอีกส่วนหนึ่งของกระชายที่สามารถนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย โดยใบกระชายสามารถรับประทานเพื่อบำรุงธาตุ รักษาโรคในปาก และในคอ แก้อาการโลหิตเป็นพิเศษ และช่วยถอนพิษต่าง ๆ ได้




ข่า





ชื่อวิทยาศาสตร์    :  Alpinia galanga
วงศ์                       :  ZINGIBERACEAE
ลักษณะทั่วไปของข่า : ข่าเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) และยังประกอบไปด้วย ใบ ดอก ผล และเมล็ด ดโดยจัดอยู่ในตระกูลขิง เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเราและอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่าง ๆ อย่างต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้รับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย
สรรพคุณของข่า :

  • ช่วยให้เจริญอาหาร (ข่าหลวง)
  • ช่วยบำรุงร่างกาย (เหง้า)
  • ช่วยบำรุงธาตุไฟ (หน่อ)
  • ข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนี่ยวนำของสารก่อมะเร็งจึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว (เหง้า)
  • มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (สารสกัดจากเหง้า)
  • สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (สารสกัดจากเหง้า)
  • ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (เหง้าแก่, สารสกัดจากเหง้า)
  • ช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น