ประเภทต้น




1.1ประเภทต้น


พิลังกาสา




พิลังกาสา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia polycephala Wall.exA.DC.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์:  Tinus polycephala (Wall. ex A. DC.) Kuntze) 
จัดอยู่ในวงศ์:     PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆว่า: ผักจำ ผักจ้ำแดง 

สรรพคุณของพิลังกาสา


  • ผลสุกนำมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน หรือใช้ผงยา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำครึ่งแก้วดื่มช่วยบำรุงโลหิต (ผล)
  • ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)
  • ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ในกองอติสารโรค (ผล)
  • ใบมีรสร้อน ช่วยแก้อาการไอ (ใบ)
  • ใบใช้เป็นยาแก้ลม (ใบ)
  • ช่วยแก้ปอดพิการ (ใบ)
  • ใบและผลช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ, ผล)
  • ดอกใช้เป็นยาแก้พยาธิ (ดอก)
  • รากใช้เป็นยาแก้กามโรค หนองใน (ราก)
  • ช่วยแก้โรคระดูของสตรี ด้วยการนำผลสุกมาตากแห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นลูกกลอนกิน (ผล)
  • ใบใช้เป็นยารักษาโรคตับพิการ (ใบ)
  • รากใช้เป็นยาพอกปิดแผล ถอนพิษงูกัด แก้พิษงู หรือใช้กากพอกแผล เอาน้ำกิน (ราก)
  • เมล็ดช่วยแก้ลมพิษ 
  • ดอกใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
  • ต้นใช้เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง (ต้น)
  • ต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน กุฏฐัง (ต้น) ส่วนผลใช้แก้โรคเรื้อน



กุ่มบก




ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
วงศ์                :  Capparaceae
ชื่ออื่น             : ผักกุ่ม

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ

สรรพคุณ :
  • ใบ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก
  • เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ
  • กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  • แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง
  • ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม



พญาสัตบรรณ




 ชื่อสามัญ Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree
 ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br.
จัดอยู่ในวงศ์ : ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)
 มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆว่า : หัสบัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด เป็นต้น

ลักษณะของพญาสัตบรรณ

  • ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล เมื่อกรีดจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
  • สรรพคุณของพญาสัตบรรณ
  • เปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นสัตบรรณมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เปลือกต้น)
  • น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ (ยาง)
  • น้ำยางจากต้นใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ (ยาง)
  • ใบอ่อนใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบ)
  • เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น,ใบ)
  • ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน (ดอก)
  • เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก)
  • ใบพญาสัตบรรณ สรรพคุณช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังได้ (ใบ)
  • เปลือกต้นพญาสัตบรรณช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
  • ช่วยบำรุงกระเพาะ (ยาง)
  • กระพี้มีสรรพคุณช่วยขับผายลม (กระพี้)
  • ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับระดูของสตรี (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับน้ำนม (เปลือกต้น)
  • ใบใช้พอกเพื่อดับพิษต่าง ๆ ได้ (ใบ)
  • ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบและยางสีขาวในการนำมาใช้รักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ (ใบ, ยาง)
  • ยางใช้รักษาแผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว (ยาง)
  • เปลือกต้นใช้ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น