เกร็ดความรู้

บทบาททางเศรษฐกิจ
สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมากการศึกษาเพิ่มเติม ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป
การเก็บรักษาสมุนไพร
        1.ควรเก็บยาสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น สถานที่เก็บสมุนไพรนั้นต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อขับไล่ความอับชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในสมุนไพรได้
        2.สมุนไพรที่จะเก็บรักษานั้นต้องแห้งไม่เปียกชื้น หากเสี่ยงต่อการขึ้นราได้ ควรนำสมุนไพรนั้นออกมาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ
        3.ในการเก็บสมุนไพรนั้นควรแยกประเภทของสมุนไพรในการรักษาโรค เพื่อป้องกันการหยิบยาผิดซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
        4.ควรตรวจดูความเรียบร้อยในการเก็บสมุนไพรบ่อย ๆ ว่ามีสัตว์หรือแมลงต่างๆ เข้าไปทำลายหรือก่อความเสียหายกับสมุนไพรที่เก็บรักษาหรือไม่ ถ้ามีควรหาทางป้องกันเพื่อรักษาคุณภาพของสมุนไพร
การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้
        1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น
        2.ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
        3.ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
        4.ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
        5.ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น
ศัพท์ที่ใช้ในการปรุงยา
ในการปรุงยาผู้ปรุงยังจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับคำบางคำ ได้แก่
        ทั้งห้า หมายถึง ต้น ราก ใบ ดอก และผล
        ส่วน หมายถึง ส่วนในการตวง (ปริมาตร)ไม่ใช่การชั่งน้ำหนัก
        กระสายยา หมายถึง ตัวละลายยา เช่น น้ำ และน้ำปูนใส เป็นต้น
        การสะตุ หมายถึงการแปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่น เกลือ สารส้ม หรือเครื่องยาให้เป็นผงบริสุทธิ์โดยวิธีทำให้สลายตัวด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการซึ่งเป็นมลทินระเหยหมดไปหรือเพื่อให้เครื่องยามีฤทธิ์อ่อนลงโดยอาจเติมสารบางอย่าง เช่น น้ำมะนาว น้ำมะลิ เป็นต้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องยาหรือสมุนไพรน
ประสะ มีความหมาย 3 ประการคือ
         1. การทำความสะอาดตัวยา หรือการล้างยา เช่น การทำความสะอาดเหง้าขิง เหง้าข่า
         2. การใช้ปริมาณยาหลักเท่ากับยาทั้งหลายเช่น ยาประสะกะเพรา มีกะเพราเป็นหลักและตัวยาอื่นๆอีกชนิด การปรุงจะใช้กะเพรา6 ส่วน ตัวยาอื่นๆ อย่างละ 1 ส่วน รวม 6 ส่วนเท่ากะเพรา 
         3. การทำให้พิษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการของตัวยาอ่อนลง โดยที่ตัวยาที่ต้องการคงสภาพเดิม เช่น ประสะมหาหิงคุ์ หมายถึงการทำให้กลิ่นเหม็นของมหาหิงคุ์ลดลงโดยใช้น้ำใบกะเพราต้มเดือดมาละลายมหาหิงคุ์ใบเพสลาด หมายถึง ใบไม้ที่จวน
กำหนดอายุของยา
จะเห็นว่าการปรุงยาไทย มักใช้สมุนไพรหลายชนิดและใช้วิธีการต่างๆตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลในการรักษา และคำนึงถึงความปลอดภัยไปพร้อมกันจึงกำหนดอายุของยาไว้ด้วยดังนี้
           1. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆมีอายุได้ประมาณ 3-6 เดือน
           2. ยาผงที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆมีอายุได้ระหว่าง 6-8 เดือน
           3. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้และแก่นไม้อย่างละเท่ากันมีอายุได้ประมาณ 5-6 เดือน                                           
   อายุของยาที่เป็นเม็ดเป็นแท่งหรือลูกกลอนมีกำหนดอายุไว้ดังนี้
           1. ยาเม็ดที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆมีอายุประมาณ 6-8 เดือน
           2. ยาเม็ดที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆมีอายุประมาณ 1 ปี
           3. ยาเม็ดที่ผสมด้วยหัวหรือเหง้าของพืชรวมกับแก่นไม้มีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง
 ทั้งยาเม็ดและยาผง ถ้าเก็บรักษาไว้ดีจะมีอายุยืนยาวกว่าที่กำหนดไว้และถ้าเก็บรักษาไม่ดีก็อาจเสื่อมเร็วกว่ากำหนดได้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยา
          1. ถ้าไม่ได้บอกไว้ว่าให้ใช้สมุนไพรสดหรือแห้งให้ถือว่าใช้สมุนไพรสด
          2. ยาที่ใช้กินถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ให้เข้าใจว่าใช้วิธีต้ม
          3. ยาที่ใช้ภายนอกร่างกายถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ให้เข้าใจว่าใช้วิธีตำพอก
          4. ยากิน ให้กินวันละ3ครั้งก่อนอาหาร
          5. ยาต้ม ให้กินครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว ยาดองเหล้า และยาตำคั้นเอาน้ำกินครั้งละ  1/2 - 1ช้อนโต๊ะ  ยาผง  กิน   ครั้งละ  1-2  ช้อนชา ยาปั้นลูกกลอนกินครั้งละ 1-2 เม็ด (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร) และยาชง ให้กินครั้งละ 1 แก้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น